aRCC Symposium Highlights: ESMO Congress OCT 2023

14 Feb 2024 byProf. Daniel Heng
MD, Prof. Sumanta Pal
MD
aRCC Symposium Highlights: ESMO Congress OCT 2023
การรักษาโรคมะเร็งไตชนิด advanced renal cell carcinoma (aRCC) มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่ใช้ยารักษาเพียงชนิดเดียว ปัจจุบันเป็นการใช้ยา 2 ชนิดร่วมกัน ได้แก่ CPI-CPI (ipilimumab-nivolumab) หรือ CPI-TK (axitinib-pembrolizumab, cabozantinib-nivolumab และ lenvatinib-pembrolizumab) ซึ่งให้ผลด้าน overall survival (OS) ที่ดีขึ้นตามลำดับ ทำให้การใช้ยา 2 ชนิดร่วมกัน CPI-TKI และ CPI-CPI เป็นการรักษามาตรฐาน (standard of care) ในการรักษา aRCC มี 3 การศึกษาที่ทำการเปรียบเทียบการใช้ CPI-TKI กับยา sunitinib โดยการศึกษา CM-9ER เป็นการใช้ยา cabozantinib-nivolumab, การศึกษา CLEAR ใช้ยา lenvatinib-pembrolizumab และการศึกษา KN-426 ใช้ยา axitinib-pembrolizumab ผลพบว่าการใช้ยาร่วมกันทั้ง 3 regimens ให้ผล objective response rate (ORR), progression-free survival (PFS) และ progressive disease (PD) ที่ดีกว่ายา sunitinib โดยเฉพาะ cabozantinib-nivolumab มี PD ลดลงเหลือเพียง 6.5% นอกจากนี้ cabozantinib-nivolumab ยังให้ผล median overall survival (mOS) ซึ่งเป็น long-term efficacy ที่ดีกว่ายา sunitinib อย่างมีนัยสำคัญ คิดเป็น 49.5 และ 35.5 เดือน ตามลำดับ การเลือกใช้ยาลำดับแรก (first line) ในการรักษาควรพิจารณาข้อมูลโดยรวมจากการศึกษาซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญคือ การออกแบบการศึกษา ลักษณะของผู้เข้าร่วมการศึกษา ขนาดยาที่ใช้ ประสิทธิภาพของยาโดยดูจากผล PFS, ORR, best overall response (BOR) และ OS รวมถึงความทนได้ต่อยาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

Resources

aRCC Symposium Highlights: ESMO Congress OCT 2023

aRCC Symposium Highlights: ESMO Congress OCT 2023

aRCC Symposium Highlights: ESMO Congress OCT 2023

aRCC Symposium Highlights: ESMO Congress OCT 2023