Meal replacement; an effective method for weight reduction

14 Jul 2020 byAssistant Prof. Sanit Wichansawakun
MD, NBPNS
Meal replacement; an effective method for weight reduction

ภาวะนํ้าหนักเกินและโรคอ้วนนับเป็นโรคในกลุ่มโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาหนึ่งที่สําคัญในประเทศไทย เนื่องจากโรคอ้วนจะนํามาซึ่งการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคในกลุ่มเมตาบอลิก ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคไต โรคไขมันพอกตับ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ หรือโรคข้อเข่าเสื่อมที่ต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม เป็นต้น1,2 อันนํามาซึ่งการเพิ่มขึ้นของภาระค่ารักษาพยาบาล เพิ่มอัตราการเกิดภาวะทุพพลภาพ และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน

สำหรับการวินิจฉัยโรคอ้วน ในปัจจุบันยังคง ใช้ BMI โดยมีเกณฑ์เฉพาะของชาวเอเชีย ทั้งนี้ เมื่อมีค่า BMI เกินจากค่าปกติ แพทย์ผู้รักษาจำเป็นต้องประเมินปริมาณไขมันส่วนเกิน โดยวิธีที่ง่ายทางเวชปฏิบัติ แนะนำให้วัดเส้นรอบเอว และเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคอ้วน จำเป็นต้องหาสาเหตุอื่น ๆ เช่น Hypothyroidism, Cushing syndrome, Genetic diseases หรือมียาที่มีผลต่อการเพิ่มของน้ำหนักตัว และประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคอ้วน

สำหรับแนวทางการรักษาโรคอ้วน ประกอบ ด้วย 1. การรักษาด้วยการควบคุมอาหาร  ออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (lifestyle modification) 2. การรักษาด้วยยา และ 3. การผ่าตัด ดังแสดงในตารางที่ 1


ตารางที่ 1 เกณฑ์การวินิจฉัยและแนวทางการรักษาโรคอ้วน3


*BMI > 27 และมีโรคร่วม ให้การรักษาด้วยยาร่วมกับการปรับพฤติกรรม
**BMI > 37.5 หรือ BMI > 32.5 และมีโรคร่วม หรือ BMI > 27.5 และเป็นเบาหวานที่ควบคุมได้ยาก ให้การรักษาด้วยยาและการผ่าตัดเป็นการรักษาร่วมกับการปรับพฤติกรรม 


ในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีความผิดปกติของ น้ำตาลในเลือดร่วมด้วย มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องพยายามลดน้ำหนัก เนื่องจากการ ลดน้ำหนักจะสามารถป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้4 โดยคำแนะนำจากสมาคมโรคเบาหวานประเทศสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association, ADA) ปี ค.ศ. 2019 แนะนำให้ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน ควรลดน้ำหนักลงร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวตั้งต้น4 และผู้ป่วยที่เป็นระยะก่อนเบาหวาน (prediabetes) ที่มีโรคอ้วน ควรลดน้ำหนักลง ร้อยละ 7 ของน้ำหนักตัวตั้งต้น5 ในระยะเวลา 6 เดือนแรกหลังการเริ่มรักษา และพยายามลดน้ำหนักต่อเนื่อง หรือรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้นตลอดชีวิต

 

แนวทางการรักษาด้วย lifestyle modification

การรักษาด้วย lifestyle modification6,7 ประกอบด้วย

1. การจกัดพลังงานให้เหมาะสมที่จะทำให้สามารถลดน้ำหนักได้

2. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย และการออกกำลังกาย

3. การนอนหลับอย่างเพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

4. การลดการดื่ม alcohol ไม่เกินปริมาณระดับปานกลาง คือ ไม่เกิน 1 drink ต่อวันในผู้หญิง และไม่เกิน 2 drinks ต่อวันในผู้ชาย

5. หยุดสูบบุหรี่

หลักการสหรับการควบคุมอาหารอย่างง่าย คือ พยายามแนะนำให้ลดแคลอรี่ลง 500-750 kcal จากพลังงานที่รับประทานเดิมต่อวัน ในคนที่ได้รับพลังงานเกินจากความต้องการต่อวัน อย่างไรก็ตาม การเลือกชนิดของอาหารมี ความสำคัญทั้งต่อความสำเร็จในการลดน้ำหนักและต่อสุขภาพโดยภาพรวม ดังนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ดังนี้

คาร์โบไฮเดรต แนะนำ low to moderate glycemic index และ high fiber เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืชต่าง ๆ ผัก และผลไม้ที่มี low to moderate glycemic index และ low to moderate glycemic load

ไขมัน แนะนำไขมันจาก mono และ polyunsaturated fatty acids และ ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว หรือ saturated fat ไม่ให้เกินร้อยละ 7-10 ของพลังงานทั้งหมด รวมถึงงดการบริโภคไขมันทรานส์ (trans fat) ทั้งนี้เพื่อช่วยในเรื่องการควบคุม ระดับน้ำตาล และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อีกทั้งแนะนำเลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วย omega 3 (ไม่มีคำแนะนำให้รับประทานเสริมในรูปแบบยาเม็ด) เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อาหารที่มี omega 3 สูง เช่น ไขมันจากปลา หรือถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่าง ๆ

โปรตีน แนะนำพลังงานจากโปรตีนร้อยละ 15-20 ของพลังงานทั้งหมด โดยเลือกเป็นโปรตีนจากพืช หรือโปรตีนจากสัตว์ที่มีไขมันต่ำ และในช่วงลดน้ำหนัก ถ้าผู้ป่วยไม่มีปัญหาการทำงานของไต อาจเพิ่มพลังงานจากปริมาณโปรตีนให้มากถึงร้อยละ 20-30 จะทำให้อิ่มนานขึ้น และช่วยส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อได้

รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ปริมาณแร่ธาตุ วิตามินให้เพียงพอต่อความต้องการต่อวัน รวมถึงเพื่อให้ได้ fiber ที่เพียงพอ โดยแนะนำผักผลไม้ 400 กรัมต่อวันเพื่อให้ได้รับ fiber ประมาณ 20-30 กรัมต่อวัน

 

อาหารทดแทนมื้ออาหาร (Meal replacement)

การใช้อาหารทดแทน หรือ meal replacement (MR) เป็นการรับประทานอาหารสำเร็จรูป โดยจำเป็นต้องเป็นอาหารสูตรครบถ้วนที่เหมาะสมต่อการลดน้ำหนัก ซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นเครื่องดื่ม ใน 1 แก้ว จะต้องให้สารอาหารครบทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ แร่ธาตุ และวิตามิน โดยมักเป็นการรับประทานทดแทนอย่างน้อย 1 มื้อ เพื่อช่วยควบคุมแคลอรี่ต่อวัน ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้อาหารทางการแพทย์มาทดแทนมื้อ อาหารหลายการศึกษา พบว่ามีประสิทธิภาพ ในการลดน้ำหนัก โดยยังสามารถรักษามวลกล้ามเนื้อได้ และสามารถลด insulin resistance ได้

โดยมีงานวิจัยในคนไทยที่ใช้ MR ใน การลดน้ำหนัก การศึกษาของ Apussanee Boonyavarakul8 และคณะ ปี 2018 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การใช้ MR ชนิด GI ต่ำทดแทนพลังงานประมาณร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด สามารถเป็นตัวช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้ และพบว่าในกลุ่มที่ใช้ MR แทนมื้ออาหารเช้า จะมีค่า HbA1c ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และการมีระดับน้ำตาลที่ 2 ชั่วโมง จากการตรวจ 75 gm glucose tolerant ดีกว่าในกลุ่มที่รับประทาน MR ชนิด GI ต่ำ

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาในต่างประเทศที่แสดงผลการใช้ MR ระยะยาวถึง 12 เดือน จาก Look AHEAD study9 พบว่า การใช้ MR นานถึง 12 เดือน สามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่ได้มีผลเสียต่อสุขภาพ และเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ควบคุมอาหารตามคำแนะนำของนักโภชนาการ และติดตามระยะยาวที่ 8 ปี ถึงแม้จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังหยุดการศึกษา แต่ภาพรวมน้ำหนักก็ยังลดลงประมาณร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวเดิม และมากกว่ากลุ่มที่ได้รับคำปรึกษาโดยไม่ใช้ MR

ในบริบทของประเทศไทยที่แพทย์อาจไม่มีเวลามากพอในการให้คำแนะนำหรือนัดติดตามผู้ป่วย วิธี MR จึงนับเป็นวิธีที่ทำให้การรักษาง่ายขึ้น และได้ผลสัมฤทธิ์จากการรักษาด้วยวิธี lifestyle modification ส่งผลให้ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน และค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยรวมในระยะยาว

 

เอกสารอ้างอิง

1.Sharma AM. M, M, M & M: a mnemonic for assessing obesity. Obesity Reviews. 2010;11(11):808-9.

2.Guh DP, Zhang W, Bansback N, Amarsi Z, Birmingham CL, Anis AH. The incidence of co-morbidities related to obesity and overweight: A systematic review and meta-analysis. BMC Public Health. 2009;9(1):88.

3.วีรเดช พิศประเสริฐ. นิยาม การจำาแนกความรุนแรง และ ความชุกของโรคอ้วน ใน: วีรเดช พิศประเสริฐ, บรรณาธิการ. โรคอ้วน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2561. หน้า 1-14.

4.American Diabetes Association. Obesity management for the treatment of type 2 diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes 2019. Diabetes Care 2019;42(Suppl.1):S81–S89.

5.American Diabetes Association. Prevention or delay of type 2 diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes 2019.Diabetes Care 2019;42(Suppl.1):S29–S33.

6.Garber AJ, Handelsman Y, Grunberger G, Einhorn D, Abrahamson MJ, Barzilay JI, et al. consensus statement by the American association of clinical endocrinologists and American college of endocrinology on the comprehensive type 2 diabetes management algorithm 2020 executive summary. Endocrine practice

7.American Diabetes Association. Lifestyle management: Standards of Medical Care in Diabetes 2019. Diabetes Care 2019;42(Suppl.1):S46–S60.

8.Boonyavarakul A, Leelawattana R, Pongchaiyakul C, Buranapin S, Phanachet P, Pramyothin P.Effects of meal replacement therapy on metabolic outcomes in Thai patients with type 2 diabetes: A randomized controlled trial. Nutrition and health. 2018:260106018800074.

9.Eight-year weight losses with an intensive lifestyle intervention: the look AHEAD study. Obesity (Silver Spring) 2014;22(1):5-13.